วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2564

เทคโนโลยี Internet of Things และนโยบาย Thailand 4.0

เทคโนโลยี Internet of Things 
และนโยบาย Thailand 4.0


นโยบาย Thailand 4.0


            โมเดล Thailand 4.0 ถือเป็นแนวคิดของรัฐบาลไทยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้หลุด จากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง และมุ่งสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยเน้นระบบเศรษฐกิจแบบสร้างคุณค่า (Value-based economy) ที่มีการเพิ่มมูลค่าและศักยภาพในภาคการผลิตและบริการที่เป็นรากฐานของ ระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันของประเทศไทย ผ่านการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์


            แนวคิด Thailand 4.0 มีจุดเริ่มต้นจากการวิเคราะห์พัฒนาการของระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่มี พื้นฐานจากระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาการผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรกรรมในยุค Thailand 1.0 ก่อนจะมี การพัฒนาการผลิตเพื่อลดการนำเข้า การพัฒนาอุตสาหกรรมเบาและการใช้แรงงานในยุค Thailand 2.0 ซึ่ง นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจโดยพึ่งพาการผลิตและอุตสาหกรรม (Manufacturing and industry) การส่งออกและภาคการบริการท่องเที่ยว ซึ่งเป็น เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจหลักของประเทศไทยในยุค Thailand 3.0 โดย พัฒนาการดังกล่าวได้ช่วยนำพาให้ประเทศไทยยกระดับเศรษฐกิจจากการเป็นประเทศในกลุ่มรายได้น้อย (Low-income countries) ในช่วงก่อนทศวรรษ 1980 จนกลายเป็นประเทศกลุ่มรายได้ปานกลางระดับสูง (Upper middle-income countries) ในปัจจุบัน ผลจากการพัฒนาระบบเศรษฐกิจโดยพึ่งพาการส่งออก การผลิตสินค้าทางอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวเป็นผลให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 9.5 ต่อปี ระหว่างปี พ.ศ. 2530-2539 ก่อนการประสบวิกฤติทางเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง


            อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาวการณ์ที่เปลี่ยนไป ปัญหาทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed countries) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศคู่ค้า ทำให้ประเทศไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในการค้าโลก และ ติดกับดักกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง ส่งผลให้โมเดลเศรษฐกิจแบบ Thailand 3.0 ไม่อาจทำให้ประเทศไทยคง การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ได้ ประเทศไทยจึงมีความจำเป็นต้องหาโมเดลทางเศรษฐกิจใหม่ที่สร้างการเติบโต แบบก้าวกระโดด (New S-Curve) โดยเน้นระบบเศรษฐกิจแบบสร้างคุณค่าและนวัตกรรม ซึ่งประเทศไทยจำเป็นที่ จะต้องผลิตเทคโนโลยีใหม่บางส่วนเอง บนรากฐานภาคส่วนทางเศรษฐกิจที่เป็นจุดแข็งดั้งเดิมของประเทศ ได้แก่ การเกษตร อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ การแพทย์ และการท่องเที่ยว ฯลฯ เพื่อตอบสนองความจำเป็นดังกล่าว รัฐบาลไทยได้ผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจดิจิทัลโดยการใช้ประโยชน์จาก การสื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศ และการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งช่วยส่งเสริมและพัฒนาภาคส่วน อุตสาหกรรมที่เป็นจุดแข็งของประเทศไทยอยู่แล้ว ให้มีประสิทธิภาพและมีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่ามากขึ้น ตัวอย่างของการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล ได้แก่ การทำการเกษตรแม่นยำ (Precision Farming), อินเทอร์เน็ตอุตสาหกรรม (Industrial Internet), เมืองอัจฉริยะ (Smart City), ระบบการบริการสาธารณูปโภค อัจฉริยะ (Smart Utilities) และระบบข้อมูลกลาง หรือ Big Data เพื่อการบริหารจัดการภาครัฐ


            การจะบรรลุวัตถุประสงค์ของการยกระดับอุตสาหกรรมหลักของประเทศ จะเป็นต้องมีเครื่องมือและ เทคโนโลยีที่เป็นรากฐานของการเชื่อมต่อระหว่างโลกทางกายภาพและข้อมูลดิจิทัล โครงข่าย Internet of Things ได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนที่สำคัญที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุนให้เกิดการประยุกต์ใช้งานที่ หลากหลาย ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว


เทคโนโลยี Internet of Things – โครงข่ายของสรรพสิ่ง 


            Internet of Things หรือ IoT เป็นกรอบแนวคิดของระบบโครงข่ายที่รองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ หลากหลายชนิด ตั้งแต่ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์โครงข่าย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เซนเซอร์ และ วัตถุต่างๆ เข้าด้วยกัน อันเป็นผลให้ระบบต่างๆ สามารถติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นอัตโนมัติทั้ง ยังเป็นผลให้มนุษย์สามารถเข้าถึงข้อมูลได้หลากหลายยิ่งขึ้น ควบคุมอุปกรณ์และระบบต่างๆ ได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น


            IoT อาจถือเป็นแนวคิดใหม่ที่มีการกล่าวถึงไม่นานมานี้ แต่ IoT เป็นผลสืบเนื่องของการพัฒนาระบบ อินเทอร์เน็ต ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างโครงข่ายเพื่อเชื่อมโยงอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานแตกต่างกันให้สามารถ สื่อสารกันได้ โดย IoT จะเปิดโอกาสให้มีการเชื่อมต่อในรูปแบบที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น และรองรับอุปกรณ์ที่ พัฒนาโดยผู้ผลิตที่มีเทคโนโลยีแตกต่างกันมากกว่าเดิม ในปัจจุบันสามารถจัดกลุ่มการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากับโครงข่ายอินเทอร์เน็ต ได้ตามรูปแบบดังต่อไปนี้


            1.) การเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์สื่อสารระยะสั้น (Short-Range Devices) เป็นรูปแบบการเชื่อมต่ออุปกรณ์ ในระยะสั้นมากโดยใช้กำลังส่งต่ำมาก เหมาะสำหรับการสื่อสารในพื้นที่ครอบคลุมขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ใน ลักษณะการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ (Peer-to-peer) หรือการเชื่อมต่อแบบโครงข่ายก็ได้ ตัวอย่างของ การเชื่อมต่อในลักษณะดังกล่าว เช่น WiFi, Bluetooth, Z-Wave และ ZigBee เป็นต้น


            2.) การเชื่อมต่อผ่านโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นรูปแบบการให้บริการที่มีพื้นที่ครอบคลุมกว้าง โดย อาศัยการเชื่อมต่ออุปกรณ์เครื่องลูกข่าย IoT เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีอยู่ แล้ว ตัวอย่างของการเชื่อมต่อในลักษณะดังกล่าว เช่น เทคโนโลยี NB-IoT และ LTE-M เป็นต้น


            3.) การเชื่อมต่อผ่านโครงข่าย LPWAN เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อผ่านโครงข่ายกำลังส่งต่ำบริเวณกว้าง Low Power Wide Area Network (LPWAN) โดยเน้นใช้งานในลักษณะการสื่อสารแบบ Narrow Band หรือ Ultra Narrow Band ที่มีอัตราการส่งข้อมูลต่ำมาก ประหยัดพลังงานมาก และมีราคา อุปกรณ์ต่อหน่วยที่ต่ำตัวอย่างของการเชื่อมต่อในลักษณะดังกล่าว เช่น LoRaWAN, SigFox และ Ingenu เป็นต้น


            4.) การเชื่อมต่อผ่านโครงข่ายสื่อสารดาวเทียม เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อที่เหมาะสมกับการใช้งานที่มีพื้นที่ ครอบคลุมการให้บริการที่กว้างมาก แต่การเชื่อมต่อดังกล่าวจะมีระยะเวลาการตอบสนอง (Latency) ช้ากว่าการเชื่อมต่อรูปแบบอื่นๆ เนื่องจากระยะเวลาที่สัญญาณเดินทางไป-กลับ ระหว่างอุปกรณ์สื่อสาร ภาคพื้นโลกและดาวเทียม


การประยุกต์ใช้งาน Internet of Things


            ความสามารถในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่หลากหลายเข้ากับโครงข่ายอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้มี การประยุกต์ใช้งานที่หลากหลายและกว้างขวางมาก โดยรูปแบบการเชื่อมต่ออุปกรณ์เซนเซอร์ต่างๆ จำนวนมาก เข้ากับโครงข่าย จะช่วยให้สามารถตรวจวัดข้อมูลที่หลากหลายประเภทได้เป็นจำนวนมาก และช่วยให้สามารถนำ ข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และแสดงผลแบบกราฟิกเพื่อช่วยในการตัดสินใจได้เมื่อนำระบบดังกล่าวผนวกเข้ากับ ระบบ Big Data จะช่วยให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความซับซ้อน มีจำนวนมากและทันเหตุการณ์ (Real-time) ตัวอย่างของการประยุกต์ใช้งาน Internet of Things มีดังต่อไปนี้


            1. การเกษตรแม่นยำ (Precision Farming)


            การเกษตรแม่นยำอาศัยการทำงานร่วมกันของระบบเซนเซอร์ที่วัดความชื้น ปริมาณแสงแดด อุณหภูมิ ระบบฐานข้อมูลพืช และระบบให้น้ำ ปรับปริมาณแสง และระบบปรับอุณหภูมิ ที่ทำงานสอดคล้องกันเพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชมากที่สุด และแม่นยำที่สุด ระบบดังกล่าว นอกจากจะช่วยให้เกษตรกรประหยัดและใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็น ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถประมาณ การช่วงเวลาเก็บเกี่ยวและปริมาณพืชผลที่จะผลิตได้ ภาพนี้แสดงตัวอย่างของการรวบรวมและ ประมวลผลปริมาณความชื้นในพื้นที่เพาะปลูกที่เก็บจากโครงข่ายของเซนเซอร์ในระบบ Precision Farming ที่ช่วยเฝ้าระวังความชื้นและความแห้งแล้ง โดยพื้นที่สีฟ้าแสดงพื้นที่ที่มีความชื้นสูง พื้นที่สีเขียว แสดงพื้นที่ที่มีความชื้นต่ำ ซึ่งการแสดงผลดังกล่าวจะช่วยให้เกษตรกรสามารถตัดสินใจในการควบคุม ปริมาณน้ำได้ดีขึ้น



            2.อินเทอร์เน็ตอุตสาหกรรม (Industrial Internet)


            อินเทอร์เน็ตอุตสาหกรรม คือ โครงข่ายข้อมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องวัด และ ระบบการควบคุมในระบบอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน การส่งข้อมูลผ่านโครงข่ายจะช่วยให้อุปกรณ์และระบบ ต่างๆ มีการทำงานที่แม่นยำสามารถทำงานสอดคล้องกันได้โดยไม่ต้องใช้แรงงานคน การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ สภาพของเครื่องจักรเช่น อุณหภูมิ การสั่น การหมุน นอกจากจะช่วยตรวจสอบความผิดปรกติของ เครื่องจักรแล้ว ยังช่วยคาดการณ์เวลาที่จำเป็นต้องเปลี่ยนอะไหล่ของอุปกรณ์เมื่อชำรุด ซึ่งจะช่วยลด ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนอะไหล่ใหม่ที่ไม่จำเป็น นอกจากนี้การเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างร้านสะดวกซื้อ ระบบโลจิสติกส์ และโรงงาน จะช่วยให้สามารถบริหารการผลิตและกระจายสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยในฐานะที่มีสัดส่วนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมอยู่ในระดับสูง จะมีโอกาสได้ประโยชน์จาก การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น


            3.ระบบขนส่งและยานพาหนะ (Logistics and Vehicles)


            โครงข่าย IoT จะเข้ามามีส่วนช่วยใน การพัฒนาระบบคมนาคมและการจัดการโลจิสติกส์ โดยช่วยสนับสนุนให้มีการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่าง ยานพาหนะด้วยกัน หรือระหว่างยานพาหนะและ ระบบควบคุมการจราจรอื่น เช่น ระบบสัญญาณ จราจร ระบบข้อมูลสภาพจราจร ซึ่งการนำเอาระบบ ดังกล่าวมาใช้กับระบบขนส่งมวลชนที่จะช่วยให้การ บริการมีความปลอดภัย สะดวก แม่นยำและตรงเวลา มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การนำระบบดังกล่าวไปใช้ใน การขนส่งสินค้าจะทำให้สามารถทราบตำแหน่ง ยานพาหนะ ทราบสถานการณ์รับ-ส่งสินค้า อันส่งผล ให้การจัดการสินค้าคงคลังมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างของการใช้งานระบบติดตามยานพาหนะใน ประเทศไทย


            4.ระบบการจัดการเมืองและสาธารณูปโภค (Smart City and Utilities)


            ระบบการจัดการเมืองและสาธารณูปโภคที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีการตรวจวัดที่แม่นยำ การประมวลผลในภาพรวม และการประมาณการที่มีความเชื่อถือได้ ระบบ IoT จะถูกนำมาประยุกต์ใช้ใน การรวบรวมข้อมูลที่สำคัญต่างๆ ภายในเมือง ซึ่งจะช่วยให้ภาครัฐสามารถวางแผน และเข้าไปให้บริการประชาชน ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้พลังงานและสาธารณูปโภค การบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าโดยใช้ ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart grid) ที่ทำหน้าที่ตรวจวัดปริมาณการใช้งานพลังงานไฟฟ้า และรวบรวม ข้อมูลเพื่อประมาณการค่าอุปสงค์ (Demand forecast) การใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลาต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อ การควบคุมการจ่ายไฟฟ้า การวางแผนสร้างโรงไฟฟ้า จัดการแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า และการคิดราคาค่าไฟฟ้า แบบสอดคล้องกับค่าอุปสงค์-อุปทาน สภาพการจราจร ความปลอดภัย การบริการสาธารณะ (Public service) ซึ่ง จะช่วยให้เมืองสามารถบริหารจัดการทรัพยากรให้ตรงตามความต้องการและชีวิตความเป็นอยู่ของคนในท้องที่ การวัดสถานะระดับน้ำเพื่อการบริหารจัดการการระบายน้ำแผนที่ค่าการวัดมลภาวะ และสถานะปริมาณขยะเพื่อ การจัดเก็บ เป็นต้น


            5.ระบบสาธารณสุข (Smart Health/Human)


            การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IoT เพื่อระบบสาธารณสุขอัจฉริยะสามารถทำได้โดยการใช้อุปกรณ์ IoT ที่เก็บ ข้อมูลสุขภาพ หรือการใช้อุปกรณ์สวมใส่ (Wearable devices) เพื่อวัดสัญญาณทางร่างกาย (Bio signals) เช่น ชีพจร ความดันโลหิต คุณภาพการนอน การเคลื่อนที่ และการหายใจ เป็นต้น เพื่อรวบรวมและประมวลผลข้อมูล ด้านสุขภาพเบื้องต้น รวมถึงการคาดการณ์และการวินิจฉัยการเจ็บป่วยล่วงหน้า (Predictive diagnostic) การแจ้งเตือนการเจ็บป่วยทันที และระบบติดตามการแพร่กระจายของโรค ซึ่งข้อมูลสถิติการเจ็บป่วยและสุขภาพ ของประชาชนโดยรวมจะเป็นประโยชน์ต่อการวางนโยบายด้านสาธารณสุข


            6.ระบบค้าปลีกและเทคโนโลยีการเงิน (Retail Environment)

            เทคโนโลยี IoT สามารถเข้ามามีบทบาทสนับสนุนระบบค้าปลีกและเทคโนโลยีทางการเงินได้หลายรูปแบบ เช่น ระบบการชำระเงินอัตโนมัติ (Auto-payment) ในร้านค้าปลีก ระบบการชำระเงินโดยผ่าน Wearable devices และโทรศัพท์เคลื่อนที่ การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง รวมถึงสามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ใน โรงงานอุตสาหกรรม ในงานเกษตรกรรม เพื่อสั่งซื้อและชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์และวัตถุดิบโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ ระบบค้าปลีกและเทคโนโลยีการเงินยังสามารถช่วยสนับสนุนการสร้างคุณค่าและเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตและการให้บริการในภาคส่วนอื่น เช่น การท่องเที่ยว ค้าปลีก และการจัดการข้อมูลกลางภาครัฐ เป็นต้น

            7.ระบบการจัดการในบ้าน (Smart Home)


            เทคโนโลยี IoT จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในการใช้ชีวิตประจำวันภายในที่อยู่อาศัย โดยอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ จะสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ หลอดไฟ เครื่องเสียง กลอน ประตูไฟฟ้า ระบบความปลอดภัยภายในบ้าน เครื่องซักผ้า หรือแม้กระทั่งแปรงสีฟัน เราจะสามารถควบคุมระบบ ต่างๆ ภายในบ้านได้ผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะส่งผลให้ประสบการณ์การใช้ชีวิตของเราเปลี่ยนไป เช่น ในอนาคตบ้าน จะสามารถรับรู้ได้ว่าเรากำลังจะกลับถึงบ้าน หรือออกจากบ้านไปแล้ว และสามารถควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ได้ โดยอัตโนมัติ เช่น เปิดปิดเครื่องปรับอากาศ หรือเปิดปิดไฟ ซึ่งการใช้งาน IoT ภายในบ้านในรูปแบบใหม่ๆ ดังกล่าว จะสามารถช่วยให้เราจัดการชีวิตได้ง่ายมากขึ้นโดยเฉพาะการลดเวลาในการทำงานบ้าน รวมถึงอาจมี ประโยชน์ในด้านการประหยัดพลังงานและการรักษาความปลอดภัยที่ดีขึ้น


            8.ระบบการจัดการสำนักงาน (Smart Office)


            Smart offices เป็นส่วนหนึ่งที่ IoT จะเข้ามามีบทบาท โดยเฉพาะด้านการบริหารจัดการการใช้พลังงานและ การดูแลรักษาความปลอดภัยภายในสำนักงาน โดยสถาบันวิจัย McKinsey Global ได้ประเมินว่า การใช้อุปกรณ์ IoT ในสำนักงานจะช่วยให้บริษัทสามารถประหยัดพลังงานได้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์นอกจากนี้บริษัทและ หน่วยงานต่างๆ สามารถประยุกต์ใช้ IoT ในการเพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน (Productivity) ของพนักงาน ในบริษัท ไม่ว่าจะเป็น การอบรมพนักงานใหม่ด้วยระบบ Virtual reality การจัดการและติดตามเอกสาร รวมถึง การติดตามการทำงานของพนักงานเพื่อพัฒนาระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การเข้ามาของอุปกรณ์ IoT จะสามารถทำให้บริษัทและหน่วยงานต่างๆ ใช้คนน้อยลง แต่ในขณะเดียวกันได้งานมากขึ้น ลดต้นทุน และเพิ่ม โอกาสในการเติบโต


ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของ IoT


            โครงข่าย IoT สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับ ประชาชนทั่วไป รถ บ้าน ร้านค้า บริษัท โรงงาน หรือแม้กระทั่งตัวเมือง โดยในภาคธุรกิจโครงข่าย IoT จะมีส่วน สำคัญในการสร้างประสิทธิภาพในการผลิตและดำเนินงาน ลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น ประเมินผลการดูแลรักษา และ จำนวนสินค้าคงคลัง ตลอดจนควบคุมพลังงานและระบบความปลอดภัย ในด้านผู้ใช้บริการ การนำแอปพลิเคชัน ต่างๆ ของ IoT มาใช้จะช่วยลดการใช้พลังงานและค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน การมีอุปกรณ์ที่ตรงกับความต้องการ ของผู้ใช้งาน รวมไปถึงการดูแลความปลอดภัยภายในบ้าน ในด้านการใช้รถ การนำแอปพลิเคชันของ IoT มาใช้ ทำให้การดูแลรักษารถมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการทำประกันรถยนต์ นอกจากนี้ การใช้ อุปกรณ์ IoT ในการตรวจวัดสุขภาพและการออกกำลังกาย ยังมีส่วนช่วยให้ผู้ใช้สามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้น ทำให้ ค่ารักษาพยาบาลลดลง ในระดับเมือง โครงข่าย IoT สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการบริหารจัดการทรัพยากร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การควบคุมสภาพจราจรบนท้องถนน รวมถึงการเสริมสร้างความปลอดภัย ที่ผ่านมาได้มี การวิจัยจากสถาบันชั้นนำต่างๆ ซึ่งสรุปได้ดังนี้


            1.สถาบันวิจัย McKinsey Global (2015 – bottom up/value created analysis)


            ได้ประเมินไว้ว่าในปี พ.ศ. 2568 ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของ IoT อาจจะมีค่าได้สูงระหว่าง 3.9 ถึง 11.1 ล้านล้านดอลล่าร์ สหรัฐฯ ต่อปี โดยที่เกือบร้อยละ 70 จะเป็นผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ (Business-to business: B2B) ในขณะที่อีกร้อยละ 30 จะเป็นผลประโยชน์จากการที่ผู้บริโภคใช้งาน แอปพลิเคชัน ต่างๆ โดยกว่าร้อยละ 40 ของค่าที่ประเมินไว้จะเกิดกับประเทศที่กำลังพัฒนา นอกจากนี้ทาง McKinsey Global (2016) ยังประเมินไว้อีกว่ามูลค่าการใช้จ่ายทั้งหมดในธุรกิจ IoT ในภูมิภาคเอเชียในช่วงปี 2559 ถึง 2564 จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (CAGR) อยู่ที่ร้อยละ 20 โดยข้อมูลการประมาณการจาก McKinsey Global ได้นำไปใช้อ้างอิงในบทความและเว็บไซต์อื่นๆ อย่างแพร่หลาย เช่น Statista และ World Bank เป็นต้น


            2.Frontier Economics (2018 – econometric model)


            ได้ประมาณการผลกระทบของการลงทุนด้าน IoT กับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว พบว่าหากเพิ่มการลงทุนด้าน IoT ขึ้นร้อยละ 10 ส่งผลให้ GDP โดยเฉลี่ยในกลุ่มประเทศดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ซึ่งถ้านำข้อมูล ดังกล่าวมาประมาณการ GDP ที่จะเพิ่มขึ้นในช่วง 15 ปีของเยอรมนีและสหรัฐอเมริกาจะมีค่าสูงถึง 0.37 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ และ 2.26 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ตามลำดับ


            3.Cisco (2013 - bottom up/value created analysis)


            ประมาณการมูลค่าที่จะเกิดขึ้นจาก IoT จากทั้ง มูลค่าที่เพิ่มขึ้นของการสร้างผลผลิตใหม่ มูลค่าการทดแทนธุรกิจแบบเดิม และการลดต้นทุน โดยในช่วงปี 2556 ถึง 2565 จะมีมูลค่าสูงขึ้นถึง 14.4 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ


            4.International Data Corporation (IDC)


            ประเมินการอัตราเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (CAGR) ของมูลค่า การใช้จ่ายทั้งหมดในธุรกิจ IoT ในช่วงปี 2560 ถึง 2564 ไว้ที่ร้อยละ 14.4


            5.รายงานจาก Frost & Sullivan


            ระบุมูลค่าการใช้จ่ายทั้งหมดในธุรกิจ IoT ของประเทศไทยเมื่อปี 2557 มี ค่าประมาณ 57.7 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ


            การประมาณการมูลค่าการใช้จ่ายทั้งหมดในธุรกิจ IoT ซึ่งคำนวณโดยใช้ค่าตั้งต้นจาก Frost & Sullivan ในปี 2557 และนำมาคูณกับอัตราเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี ตามการศึกษาของ McKinsey (ร้อยละ 20) จากตาราง จะเห็นว่าถ้าพิจารณาจากปี 2560 ในอีก 5 ปีข้างหน้าจะมีมูลค่าการใช้จ่ายทั้งหมดในธุรกิจ IoT เพิ่มมากถึง 2.5 เท่าในปี 2565 นอกจากนี้ หากพิจารณาจากปี 2557 ที่ Frost & Sullivan เริ่มประเมิน ในปี 2565 จะมีมูลค่า การใช้จ่ายทั้งหมดในธุรกิจ IoT เพิ่มขึ้นกว่า 4.3 เท่า ซึ่งการประมาณการตัวเลขของ McKinsey นั้นมี ความน่าเชื่อถือและยังถูกนำไปอ้างอิงในเอกสารของ World Bank อีกด้วย



            นอกจากการประมาณการในภาพรวม ยังมีการประมาณการตัวเลขมูลค่าทางเศรษฐกิจของ IoT ต่อ ภาคธุรกิจทั้ง 9 ด้าน ซึ่งได้กล่าวถึงในข้างต้น ได้แก่ ระบบสาธารณสุข (Smart Health/Human) ระบบการจัดการ ในบ้าน (Home) ระบบค้าปลีกและเทคโนโลยีการเงิน (Retail) ระบบการจัดการส านักงาน (Office) ภาคการผลิต (Factory – รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม) ภาคการก่อสร้าง (Worksite) ภาคยานพาหนะ (Vehicle) ระบบการจัดการเมืองและสาธารณูปโภค (City) และภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ (Logistics) โดยการศึกษา ดังกล่าวได้ประมาณการสัดส่วนมูลค่าทางเศรษฐกิจของ IoT ในแต่ละภาคธุรกิจเป็นสัดส่วนต่อต่อมูลค่าการใช้จ่าย ของ IoT ทั้งตลาด ดังนี้



            หากนำการศึกษาของ McKinsey มาพิจารณา จะพบว่า (1) หากใช้ตัวเลขประมาณการขั้นต้น Factory, City, Logistics และ Retail จะเป็นกลุ่มที่มูลค่าทางเศรษฐกิจของ IoT มากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปน้อย โดย ผลรวมของทั้งสี่ภาคธุรกิจสูงเกือบถึงร้อยละ 80 ของมูลค่า IoT ทั้งตลาด (2) ในกรณีที่ใช้ตัวเลขประมาณการขั้นสูง Factory, City, Human และ Retail จะเป็นกลุ่มที่มีมูลค่ามากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปน้อย โดยผลรวมของทั้งสี่ ภาคธุรกิจสูงกว่าร้อยละ 70 ของมูลค่า IoT ทั้งตลาด ทั้งนี้ Factory เกี่ยวข้องกับการสร้างมาตรฐานในกระบวนการ ผลิต โดยเฉพาะสถานที่ที่มีการทำงานเป็นรูปแบบของงานประจำ (Routine) อาทิ โรงงานอุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือโรงพยาบาล บริการ IoT จะเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการเหล่านั้น City หรือเมือง จะเกี่ยวข้อง การจัดระบบพื้นที่สาธารณะและสาธารณูปโภค การจัดการจราจร การใช้เครื่องวัดอัจฉริยะที่จะช่วยตรวจวัดดัชนี ต่างๆ โดยอัตโนมัติ เป็นต้น Retail หมายถึง การจัดการพื้นที่ (Platform) เพื่อซื้อขายสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็น ร้านค้า ธนาคาร ร้านอาหาร นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง การให้บริการในร้านค้าหรือ แม้แต่การชำระเงินด้วยตนเอง ส่วน Logistics เกี่ยวข้องกับระบบต่างๆ ภายในยานพาหนะ ได้แก่ รถยนต์ส่วนบุคคล รถบรรทุก เรือ เครื่องบิน หรือรถไฟ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนการขาย ปริมาณการใช้และการบำรุงรักษา สำหรับ Human จะเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ที่นำมาติดไว้กับร่างกายมนุษย์ อุปกรณ์เหล่านี้มีหน้าที่รวบรวมและ ประมวลผลสุขภาพ ช่วยควบคุมโรค เพิ่มสมรรถนะของร่างกายและเพิ่มผลิตภาพส่วนบุคคล เป็นต้น


            สำหรับประเทศไทยในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า มูลค่าการประมาณการขั้นต้นน่าจะมีความเหมาะสมกว่า เนื่องจาก เป็นช่วงต้นของการนำเทคโนโลยี IoT มาประยุกต์ใช้ ดังนั้น 4 ภาคส่วนที่น่าจับตามอง คือ ภาคการผลิต (Factory) เมืองอัจฉริยะ (City) การค้าปลีกและเทคโนโลยีการเงิน (Retail) และ ภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ (Logistics) โดย หากน าตัวเลขไปเทียบกับตารางประมาณการมูลค่าการใช้จ่ายทั้งหมดในปี 2565 มูลค่าส่วนเพิ่มของ 4 ภาคธุรกิจที่จะ ได้จากบริการ IoT นั้นจะมีค่าสูงถึง 2,374 1,825 1,099 และ 804 ล้านบาทตามลำดับ ดังแสดงในตารางที่ 3



ปัจจัยในการพัฒนาโครงข่าย IoT (Challenges)


            ความท้าทายและการสร้าง Ecosystem สำหรับ IoTจากศักยภาพการใช้งานที่หลากหลาย ทำให้มีการคาดการณ์ว่าการประยุกต์ใช้ IoT จะเติบโตอย่างรวดเร็ว โดย บริษัท Gartner ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาทางด้านเทคโนโลยี ได้ประมาณการไว้ว่า ภายในปี 2563 จะมี อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งสิ้นประมาณ 20,800 ล้านอุปกรณ์ เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 300 จาก 6,400 ล้านอุปกรณ์ในปี 2559 ด้วยจำนวนอุปกรณ์และความต้องการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลและหลากหลาย


            เพื่อให้ประเทศไทยสามารถนำเทคโนโลยี IoT ไปช่วยสนับสนุนแผนการพัฒนาที่นำไปสู่ Thailand 4.0 ได้ อย่างราบรื่นนั้น ทุกภาคส่วนมีความจำเป็นจะต้องกำหนดแนวทางเพื่อสร้างสภาพแวดล้อม (Ecosystem) ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาและเติบโตของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ IoT หลายประการด้วยกัน โดยมีประเด็นสำคัญที่ ควรพิจารณา ดังต่อไปนี้


            - โครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคมที่รองรับปริมาณข้อมูลที่มากขึ้น 

            - ความถี่ (Radio spectrum) ที่มากขึ้นเพื่อรองรับการเชื่อมต่อแบบไร้สาย  

            - ระบบเลขหมาย หรือ ระบบการระบุตัวตนในโครงข่าย (Network address/Identity) ที่มากพอต่อ การรองรับจำนวนอุปกรณ์ที่เพิ่มมากขึ้นในโครงข่ายได้ 

            - ความสามารถในการรองรับอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานและคุณลักษณะทางเทคนิคที่หลากหลายมากเพื่อ สนับสนุนการทำงานร่วมกันได้ (Interoperability) 

            - การจัดการด้านความมั่นคงของระบบไซเบอร์ (Cyber security) และความเป็นส่วนตัว(Privacy) ของ ผู้ใช้งาน 

            - ระบบการกำกับดูแลที่รองรับการประกอบกิจการในรูปแบบใหม่

            - การสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยี IoT 

            - นโยบายที่สนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนให้สามารถยกระดับการผลิตสินค้าและบริการโดยใช้ เทคโนโลยี IoT


การพัฒนาโครงข่าย IoT (Solutions): การดำเนินงานของสำนักงาน กสทช.


            ประเด็นและความท้าทายที่ได้กล่าวมาจะทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างมาก หากจำนวนอุปกรณ์ที่มี การเชื่อมต่อเข้าสู่โครงข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากปราศจากการวางแผนทาง ยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกันแล้ว อาจทำให้การพัฒนาของการใช้งาน IoT ไม่เป็นไปตาม เป้าหมายที่ตั้งไว้ ในมุมมองขององค์กรกำกับดูแลและจัดสรรคลื่นความถี่ หากปราศจากการกำหนดยุทธศาสตร์ที่ ชัดเจนและมีประสิทธิภาพแล้ว อาจเป็นผลให้เกินการพัฒนาโครงข่าย IoT อย่างไม่มีทิศทาง เกิดการลงทุนซ้ำซ้อน ขาดแคลนคลื่นความถี่ มีการรบกวน และมีโอกาสที่ระบบต่างๆ จะไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งจะเป็นอุปสรรค ต่อการพัฒนาระบบและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในอนาคต ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจาย เสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติได้ดำเนินการเตรียมความพร้อม และแผนการเพื่อ สนับสนุนการพัฒนาของเทคโนโลยี IoT ในประเทศไทย ดังนี้


            1.) การสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคม โดยการสนับสนุนให้มีการกระจาย การเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานแบบมีสายไปสู่พื้นที่ต่างจังหวัด และพื้นที่ชายขอบ เช่น โครงการ อินเทอร์เน็ตหมู่บ้าน ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานที่ทั่วถึงจะกระตุ้นให้มีการสร้างการเชื่อมต่อแบบ Last mile ใน หลากหลายรูปแบบเพื่อรองรับการพัฒนาธุรกิจในท้องถิ่น เช่น โครงข่ายสำหรับการเกษตรแบบแม่นยำ โครงข่ายเพื่อการจัดการพลังงานอัจฉริยะ และโครงข่ายสำหรับการระบุพิกัดและติดตาม เป็นต้น


            2.) การกำหนดแผนความถี่ที่รองรับการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ IoT ซึ่งอุปกรณ์ IoT สามารถเชื่อมต่อระบบ อินเทอร์เน็ตผ่านทางโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT) ที่ใช้คลื่นความถี่แบบได้รับใบอนุญาต และ โครงข่ายที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์สื่อสารระยะใกล้ (SRD) และ โครงข่าย LPWAN ที่ใช้คลื่นความถี่แบบได้รับ ยกเว้นใบอนุญาต (Unlicensed) โดยคลื่นความถี่ที่สามารถใช้สนับสนุนการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT แสดงใน ภาพที่ 3 โดยในปัจจุบันประเทศไทยมีคลื่นความถี่ที่พร้อมสำหรับการใช้งาน เพื่อรองรับโครงข่าย IoT ผ่านโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำนวน 3 ย่านความถี่ และรองรับการเชื่อมต่อโดยใช้คลื่นความถี่แบบ unlicensed จำนวน 8 ย่านความถี่ด้วยกัน 


            สำนักงาน กสทช. ได้ประกาศให้มีการใช้งานคลื่นความถี่ 920-925 เมกะเฮิรตซ์ ในแบบ Unlicensed ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2560 เพื่อรองรับเทคโนโลยี IoT ในประเทศไทย เนื่องจากคลื่นความถี่ดังกล่าว เป็นย่านความถี่ที่ได้รับความนิยมสูงสำหรับการใช้งาน IoT ในต่างประเทศ จึงคาดว่าจะช่วยทำให้เกิดการ ประยุกต์ใช้งาน IoT อย่างกว้างขวางและเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนนโยบาย Thailand 4.0 ได้


            3.) การสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี IoT ผ่านกองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น ระบบ Smart Farming ระบบการใช้โดรนเพื่อโลจิสติกส์ และ ระบบการแพทย์ทางไกล


            4.) การศึกษาด้านด้านความมั่นคงของระบบไซเบอร์ (Cyber security) ซึ่งสามารถนำมาต่อยอดใช้กับการ กำหนดทิศทางของการกำกับดูแลด้านความมั่นคงของระบบไซเบอร์ของอุปกรณ์ IoT


            5.) การกำหนดมาตรฐานและคุณลักษณะทางเทคนิคและจัดทำร่างประกาศ กสทช. ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุน การทำงานร่วมกันได้ (Interoperability) ของอุปกรณ์ IoT


            6.) การศึกษาการใช้ระบบเลขหมาย และระบบระบุตัวตนของอุปกรณ์ IoT เพื่อรองรับจำนวนอุปกรณ์ IoT ที่ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว


            7.) การกำหนดแนวทางการกำกับดูแลเบื้องต้น และแนวทางการพิจารณาอนุญาตประกอบกิจการ โทรคมนาคม สำหรับโครงข่ายผู้ให้บริการ IoT


บทสรุป (Ways forward): บทสรุปและข้อเสนอแนะอื่นๆ ในการพัฒนาโครงข่าย IoT


            เพื่อส่งเสริมแนวคิด Thailand 4.0 และช่วยให้ประเทศไทยก้าวผ่านกับดักกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง การส่งเสริมและพัฒนาโครงข่าย IoT ตามปัจจัยในข้อ 5 และวิธีตามข้อ 6 อาจจะไม่เพียงพอ เพราะที่กล่าวมานั้น ถือว่าเป็นการพัฒนาโครงข่ายซึ่งถือเป็นทางด้านอุปทานของ Ecosystem เท่านั้น ดังนั้นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางด้านอุปสงค์ควบคู่ไปด้วย เช่น การให้ความรู้ และความเข้าใจกับผู้ที่มี โอกาสใช้งานโครงข่าย IoT รวมถึงการชี้ให้ประชาชนเล็งเห็นถึงประโยชน์ส่วนเพิ่มมหาศาลที่คาดว่าจะเกิดจาก IoT ทั้งในระดับบุคคลและระดับประเทศ เพราะการนำมาเทคโนโลยีใหม่ใดๆ มาใช้การพัฒนาเฉพาะด้านอุปทานโดย ไม่ส่งเสริมการนำมาใช้ของประชาชน ย่อมไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ ในทางกลับกัน หากมีการพัฒนาโครงข่ายและส่งเสริมการรับมาใช้ควบคู่กันไป ผลประโยชน์ส่วนเพิ่มที่จะเกิดกับ ประเทศก็จะเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ และไม่ใช่เฉพาะทางด้านเศรษฐกิจเท่านั้น ยังรวมถึงผลประโยชน์ทางด้านอื่นๆ เช่น ด้านสังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น


บทความอ้างอิง 


            - Thailand World Economic Outlook Database, Apr 2012, International Monetary Fund.

            - Manyika, James, Michael Chui, Peter Bisson, Jonathan Woetzel, Richard Dobbs, Jacques Bughin, and Dan Aharon. “The Internet of Things: Mapping the Value Beyond the Hype.” McKinsey Global Institute, June 2015. 

            - Gartner Says 6.4 Billion Connected "Things" Will Be in Use in 2016, Up 30 Percent From 2015, http://www.gartner.com/newsroom/id/3165317


























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น