เทคโนโลยี AR
เทคโนโยลีเสมือนจริง
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี AR
เทคโนโลยีความจริงเสมือน (Virtual Reality: VR) เป็นวิวัฒนาการของเทคโนโลยีที่เริ่มจาก การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสําหรับ การทหารและจํา ลองการบินของประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างปีค.ศ. 1960-1969 ปัจจุบันเทคโนโลยีความจริงเสมือนได้มีการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง และได้นํามาประยุกต์ใช้กับงานด้านต่างๆ อาทิด้านวิศวกรรม ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านบันเทิง เป็นต้น และมีการแบ่งประเภทของระบบความจริงเสมือนตามพื้นฐานวิธีที่ติดต่อกับผู้ใช้ (วัฒนา, 2551) ดังนี้
(1) DesktopVR หรือ Window on WorldSystems (WoW) เป็นระบบความจริงเสมือนที่ ใช้จอภาพของคอมพิวเตอร์ในการแสดงผล
(2) Video Mapping เป็นการนํา วิดีโอมาเป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือนํา เข้าข้อมูลของผู้ใช้ และใช้กราฟิกคอมพิวเตอร์นํา เสนอการ แสดงผลในโมเดลแบบสองมิติหรือสามมิติโดยผู้ใช้จะเห็น ตัวเองและเปลี่ยนแปลงตัวเองจากจอภาพ
(3) Immersive Systems เป็นระบบความจริงเสมือนสําหรับผู้ใช้ส่วนบุคคล โดยผู้ใช้นํา อุปกรณ์ประเภทจอภาพสวมศีรษะ (HMD) ได้แก่ หมวกเหล็กหรือหน้ากากมาใช้จํา ลองภาพและการ ได้ยิน
(4) Telepresence เป็นระบบเสมือนจริงที่มีการนํา อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณระยะไกลที่ อาจติดตั้งกับหุ่นยนต์เชื่อมต่อการใช้งาน กับผู้ใช้
(5) Augmented / Mixed Reality Systems เป็นการผสมผสานระหว่าง Telepresence ระบบความจริงเสมือน และเทคโนโลยีภาพเพื่อสร้างสิ่งที่เสมือนจริงให้กับผู้ใช้
และเทคโนโลยีเสมือนจริง (Augmented
Reality: AR) เป็นประเภทหนึ่งของเทคโนโลยี
ความจริงเสมือนที่มีการนํา ระบบความจริง
เสมือนมาผนวกกับเทคโนโลยีภาพเพื่อสร้างสิ่งที่เสมือน
จริงให้กับผู้ใช้และเป็นนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่มีมาตั้งแต่ปีค.ศ. 2004
จัดเป็น แขนงหนึ่งของ งานวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ว่าด้วยการเพิ่มภาพเสมือนของโมเดลสามมิติที่สร้างจาก
คอมพิวเตอร์ลงไปในภาพที่
ถ่ายมาจากกล้องวิดีโอเว็บแคมหรือกล้องในโทรศัพท์มือถือแบบเฟรมต่อ
เฟรมด้วยเทคนิคทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก
ปัจจุบัน เทคโนโลยีเสมือนจริงถูกนํา มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นด้าน อุตสาหกรรม การแพทย์การตลาด การบันเทิง การสื่อสาร โดย
ใช้เทคโนโลยีความจริงเสมือนมาผนวก เข้ากับเทคโนโลยีภาพผ่าน
ซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ และแสดงผลผ่านหน้าจอ
คอมพิวเตอร์หรือบนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ ทํา ให้ผู้ใช้สามารถนํา เทคโนโลยีเสมือนจริงมาใช้กับการ
ทํา งานแบบออนไลน์ที่สามารถ
โต้ตอบได้ทันทีระหว่างผู้ใช้กับสินค้าหรืออุปกรณ์ต่อเชื่อมแบบ เสมือน
จริงของโมเดลแบบสามมิติที่มีมุมมองถึง 360 องศา โดย ผู้ใช้ไม่จํา
เป็นต้องไปสถานที่จริง เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความ
จริงเสมือน (VR) และเทคโนโลยีเสมือนจริง (AR) พบว่าแตกต่าง
กันในการใช้อุปกรณ์ระบุตํา แหน่ง โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงเสมือนจะ
ใช้อุปกรณ์ที่มีความซับซ้อนเพื่อระบุตํา แหน่ง
ของส่วนที่ปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์เช่นการใช้ถุงมือเพื่อระบุ ตํา แหน่ง โดยใช้สัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า
แต่ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงจะใช้เพียงกล้องที่ ติดกับอุปกรณ์ต่างๆ
เช่นกล้องวิดีโอ เว็บแคม และวัตถุสัญลักษณ์ (Marker board) ทํา
ให้สามารถ พัฒนาส่วนของการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมได้ง่ายกว่า และ
ประหยัดต้นทุนในการพัฒนาระบบได้ มากกว่าภายใต้สิ่งแวดล้อม เสมือนที่คล้ายกัน
ความหมายของ AR
AR หรือ Augmented Reality เป็นเทคโนโลยีที่ผสานโลกแห่งความจริง รวมเข้ากับ โลกเสมือนจริงที่ถูกสร้างขึ้น โดยผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ กล้องโทรศัพท์มือถือ, คอมพิวเตอร์หรือ แว่น โดยจะแสดงผลเสมือนจริงแบบ 3D 360 องศา 2 หมายถึงเทคโนโลยีในการเพิ่มข้อมูลที่มีความหมายให้กับสิ่งของ หรือสถานที่จริงๆ โดยเริ่มด้วยการเปิดรับข้อมูลอ้างอิงทางด้านภาพ เสียง หรือการบอกตําแหน่งด้วยระบบ GPS และ อื่นๆ จากที่นั้น แล้วระบบก็จะทําการสร้างข้อมูลเพิ่มเติมให้วัตถุจริงที่มีอยู่เดิม ทั้งในรูปแบบภาพ เสียง และข้อมูลอื่นๆ ที่ทําให้ผู้ใช้มีข้อมูลเชิงลึกเพิ่มขึ้น หรือสามารถตอบโต้ได้ ซึ่งทําให้ได้ประสบการณ์ และมีการรับรู้เพิ่มเติมจากสิ่งของหรือสภาพแวดล้อมจริงๆ ที่อยู่ตรงหน้า
ความเป็นมาของเทคโนโลยี AR
เทคโนโลยีนี้ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปีค.ศ. 2004 จัดเป็น แขนงหนึ่งของงานวิจัยด้าน วิทยาการคอมพิวเตอร์ว่าด้วยการเพิ่มภาพเสมือนของโมเดลสามมิติที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ลงไปใน ภาพที่ ถ่ายมาจากกล้องวิดีโอ เว็บแคม หรือกล้องในโทรศัพท์มือถือ แบบเฟรมต่อเฟรม ด้วยเทคนิค ทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก แต่ด้วยข้อจํากัดทางเทคโนโลยีจึงมีการใช้ไม่แพร่หลายเท่าไหร่ แต่ ปัจจุบันเทคโนโลยีมือถือ และการสื่อสารข้อมูลไร้สาย รวมทั้งการประมวลต่างๆ มีความรวดเร็วขึ้น และมีราคาถูก
ด้วยเหตุนี้ จึงทําให้อุปกรณ์สมาร์ทโฟน และแทบเล็ต
ทําให้เทคโนโลยีที่อยู่แต่ใน ห้องทดลอง กลับกลายมาเป็นแอพที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานกันง่ายๆ
ไปแล้ว โดยในช่วง 2-3 ปี มานี้ AR
เป็นเรื่องที่ถูกกล่าวถึงอยู่เป็นระยะ
และในอนาค ทั้ง VR และ
AR สามารถนํามาประยุกต์ใช้
งานได้กว้างขวางหลากหลาย ทั้งด้าน อุตสาหกรรม การทหาร การแพทย์การตลาด การบันเทิง
การ สื่อสาร และ การศึกษา
ประเภทของเทคโนโลยี AR
(1) ใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนที่มีเข็มทิศในตัว AR (Location-Based) โดยผ่าน
แอพพลิเคชั่นทั้ง
บนระบบปฏิบัติการ iOS และ
Android หรืออื่น
ๆ
(2) ใช้งานผ่านระบบคอมพิวเตอร์ (Marker หรือ Image-Based) ด้วยการเขียนโค้ด รหัสในการใช้งานเพื่อให้เกิดเป็น 3D ในรูปแบบต่าง ๆ หรือใช้กล้องเว็บแคมในการอ่านสัญลักษณ์ เพื่อนําเข้าไปประมวลผลและแสดงผ่านทางจอภาพคอมพิวเตอร์
(3) เป็น AR ที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการสร้าง (Panoramic 360) สามารถ หมุนแสดงได้ตามอิสระและหลากหลายมุมมอง
โดยมีลักษณะการใช้งานได้ ดังนี้
(1) ใช้งานบน
Smart Devices โดยผ่านแอพพลิเคชั่นทั้งบนระบบปฏิบัติการ iOS และAndroidหรืออื่น
ๆ
(2) ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์
กระบวนการทํางาน AR
AR เป็นการนําเทคโนโลยีมาผสานระหว่างโลกแห่งความเป็นจริงและความเสมือนจริงเข้า ด้วยกัน ด้วยการใช้ระบบซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆเช่นเว็บแคมคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ อื่นที่เกี่ยวข้องโดยองค์ประกอบของระบบ AR มีดังนี้
(1) ตัว
Marker หรือ Sensor ซึ่งเป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือรูปภาพที่กําหนดไว้เป็นตัว เปรียบเทียบ
กับ สิ่งที่เก็บไว้ในฐานข้อมูล (Marker Database)
(2) กล้อง, มือถือ, แว่น อุปกรณ์ที่สามารถตรวจจับ Sensor ต่าง ๆ เพื่อทําการวิเคราะห์ภาพ
(3) จอแสดงผล, จอมือถือ หรือ จอภาพต่าง ๆ เพื่อทําการแสดงผลภาพ
(4) ระบบประมวลผลเพื่อสร้างวัตถุ 3D เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นกระบวนการสร้างภาพ 2 มิติจากโมเดล 3 มิติ
จากภาพที่ 3.5 อธิการประมวลผล ได้ดังนี้
(1) การวิเคราะห์ภาพ (Image Analysis) โดยค้น
Marker จากภาพ
แล้วทําการ สืบค้นจากฐานข้อมูล (Marker
Database) จากนั้นทําการวิเคราะห์รูปวัตถุเสมือนที่ได้ระบุไว้ว่าตรง
กับ AR Marker หรือไม่
(2) คํานวณค่าตําแหน่งเชิง 3 มิติ (Pose Estimation) ของ
Marker
(3) สร้างภาพ 2 มิติจากโมเดล 3 มิติ (3D Rendering)
ซึ่งจากภาพที่ 3.5 อธิบายได้ว่า
แนวคิดหลักของเทคโนโลยีเสมือนจริง คือการพัฒนา
เทคโนโลยีที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริงและความเสมือนจริงเข้าด้วยกันผ่านซอฟต์แวร์และ
อุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ เช่นเว็บแคมคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งภาพเสมือนจริงนั้นจะ แสดงผลผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์หน้าจอโทรศัพท์มือถือบนเครื่องฉายภาพ
หรือบนอุปกรณ์แสดงผล อื่นๆ
โดยภาพเสมือนจริงที่ปรากฏขึ้นจะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ได้ทันทีทั้งในลักษณะที่เป็นภาพนิ่งสามมิติ
ภาพเคลื่อนไหว หรืออาจจะเป็นสื่อที่มีเสียงประกอบขึ้นกับการออกแบบสื่อแต่ละรูปแบบว่าให้ออกมา
แบบใด โดยกระบวนการภายในของเทคโนโลยีเสมือนจริง ประกอบด้วย 3 กระบวนการ ได้แก่
(1)
การวิเคราะห์ภาพ (Image
Analysis) เป็นขั้นตอนการค้นหา Marker จากภาพ
ที่ได้จากกล้องแล้วสืบค้นจากฐานข้อมูล(Marker Database) ที่มีการเก็บข้อมูลขนาดและรูปแบบของ Marker เพื่อนํามาวิเคราะห์รูปแบบของ
Marker
(2)
การคํานวณค่าตํา แหน่งเชิง 3 มิติ(Pose
Estimation) ของ Marker เทียบกับ กล้องที่ได้
(3)
กระบวนการสร้างภาพสองมิติจากโมเดลสามมิติ(3DRendering) เป็นการเพิ่ม ข้อมูลเข้าไปในภาพ
โดยใช้ค่าตํา แหน่งเชิง 3 มิติที่คํานวณได้จนได้ภาพเสมือนจริง
โดยพื้นฐานหลักของ AR
จํา เป็นต้องรวบรวมหลักการของการ
ตรวจจับการเคลื่อนไหว (Motion
Detection) การตรวจจับการ เต้นหรือการเคาะ (Beat Detection) การจดจํา
เสียง (Voice Recognize) และการประมวลผลภาพ(ImageProcessing) โดย
นอกจากการตรวจจับการเคลื่อนไหว ผ่าน Motion Detect แล้ว
การตอบสนองบางอย่างของระบบผ่านสื่อนั้น ต้องมีการตรวจจับ เสียง
ของผู้ใช้และประมวลผลด้วยหลักการ Beat
Detection เพื่อ ให้เกิดจังหวะในการสร้างทางเลือกแก่ ระบบ
เช่น เสียงในการสั่ง ให้ตัว Interactive
Media ทํา งาน ทั้งนี้การสั่งการด้วยเสียงจัดว่า เป็นAR
และในส่วนของการประมวลผลภาพนั้นเป็นส่วนเสริมจาก
งานวิจัยซึ่งเป็นส่วนย่อยของ AR
เพราะเน้น ไปที่การทํา งานของ ปัญญาประดิษฐ์(Artificial Intelligent:AI) ในการสื่ออารมณ์กับผู้ใช้บริการผ่าน
สีและรูปภาพ
ระบบเสมือนเสริมบนโทรศัพท์มือถือ
โทรศัพท์มือถืออัจฉริยะหรือสมาร์ทโฟน (Smart Phone) ถือเป็นจุดเปลี่ยนแนวคิดทางการ ตลาดของการโฆษณา เพราะด้วย ระบบเสมือนจริงบนโทรศัพท์มือถือ(MobileAR)ทํา ให้ผู้ใช้สามารถ รับข้อมูลหรือข่าวสารได้ทันทีตามคุณลักษณะของซอฟต์แวร์หรือ โปรแกรมต่างๆ ที่อยู่ใน โทรศัพท์มือถือ แบบที่ผู้ใช้สามารถพกพา ได้อย่างสะดวก
ระบบเสมือนจริงบนโทรศัพท์มือถือจัดเป็นเทคโนโลยีเสมือนจริงที่ใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ ทํา ให้หน้าจอของโทรศัพท์มือถือแสดงข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ โทรศัพท์มือถือที่สามารถใช้ระบบเสมือนจริงได้ต้องมีคุณสมบัติของ เครื่อง ดังนี้
(1) กล้องถ่ายรูป
(2)
GPS ที่สามารถระบุพิกัดตําแหน่งและเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
(3) เข็มทิศดิจิตอลในเครื่อง
การประยุกต์ใช้ AR ในงานด้านต่าง ๆ
(1) ทางด้านอุตสาหกรรม เช่น การผลิตเครื่องบิน อุตสาหกรรมรถยนต์
(2) ทางด้านการแพทย์
(3) ทางด้านธุรกิจ
จุดเด่นของเทคโนโลยี AR
(1) สร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้แก่ผู้บริโภค
(2) สามารถค้นหาตําแหน่งและรายละเอียดของสินค้าด้วยตนเอง
(3) สร้างความสนใจในตัวสินค้าและเพิ่มยอดขายได้
(4) เพิ่มโอกาสของการค้าผ่านทางออนไลน์
(5) ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการลงทุน
ข้อจํากัดของเทคโนโลยี AR
(1) ไม่เหมาะกับกลุ่ม Low Technology
(2) มีกลุ่มผู้บริโภคจํากัด
(3) อาจไม่คุ้มกับการลงทุนวางระบบเครือข่ายต่าง ๆ รวมทั้งการจัดทําระบบบ
ฐานข้อมลู
(4)
อาจจะไม่ครอบคลุมในพื้นที่ที่อินเทอร์เน็ตยังด้อยประสิทธิภาพ
(5) ตัว Marker
จําเป็นต้องปรากฏอยู่ตลอดเวลา
เพราะส่งผลต่อการแสดงผล ทํา ให้การแสดงผลไม่สมบูรณ์หาย หรือหลุดออกจากเฟรมได้
รูปแบบการพัฒนาการใช้ AR
มีการนําเทคโนโลยี AR ไปประยุกต์ใช้ในด้านต่าง
ๆ มากมาย ยกตัวอย่างเช่น
(1) เริ่มพบเห็นได้บนอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ
ซ่ึงเป็นการเริ่มพลิกบทบาทของอุปกรณ์ โทรศัพท์มือถือ
จากที่ถูกมองว่าเป็นเครื่องช่วยในการติดต่อสื่อสารทั้งการสนทนาและรับส่งข้อมูล ให้
กลายไปเป็นอุปกรณ์ช่วยในการทํางานและสร้างความบันเทิงอีกไม่จํากัดรูปแบบ เช่น
ทําให้ผู้ซื้อ
สามารถค้นหาสินค้าที่ตัวเองต้องการโดยสามารถรู้ตําแหน่งของสินค้าว่าอยู่ที่ไหน
ทิศทางไหน และอยู่ ไกลเท่าไร จากตําแหน่งที่อยู่โดยเพียงแค่มองผ่านโทรศัพท์มือถือ, ถ้าต้องการทราบตําแหน่งที่อยู่ว่าอยู่
ที่ไหน เพียงแค่ถ่ายภาพตึกหรือบริเวณนั้น โทรศัพท์จะจําลองประมวลผลเป็นแผนที่ Ovi Maps พร้อม
ทั้งบอกสถานที่ใกล้เคียงที่สําคัญให้ด้วย
(2)
มีการนํามาใช้ในรูปแบบ E-commerce
เช่น เว็บขายเสื้อผ้าได้ทําหน้าต่าง Flash Animation ที่มีการเชื่อมต่อ
Webcam และเมื่อผู้ใช้บริการกดตอบรับ
Webcam แล้ว
จะมี GUI (Graphic User
Interface) ปรากฏขึ้นผ่านหน้าจอที่เป็นกล้องสะท้อน
เมื่อผู้ใช้บริการยืนตรงตําแหน่ง ที่เหมาะสมแล้ว
สามารถที่จะเอามือหรือเคลื่อนไหวไปถูก Interface ของกราฟิกรูปเสื้อผ้าเพื่อทําการ
เปลี่ยนชุด
โดยชุดที่เลือกนั้นจะมาทับตําแหน่งของผู้บริการพอดีเพื่อทดสอบว่าเหมาะสมกับรูปร่าง
ของผู้ใช้บริการหรือไม่
(3)
ใช้ในแคมเปญโฆษณาสินค้า โดยติดสัญลักษณ์หรือแผงเซลล์ไมโครชิปตามตึกสําคัญ แล้ว
เอาโทรศัพท์สแกนภาพตึกที่ติดแผงนั้นไว้ก็จะพบตัวอักษรหรือรหัสในการแลกโปรโมชั่นของร้านค้า
หรือบริษัทได้
(4)
วงการละคร หนังหรือซีรีย์ผลิตเป็นการ์ดที่มีสัญลักษณ์จําหน่าย
ผู้ซื้อก็สามารถนํามาชม ผ่าน Web
Cam ได้
(5) บริษัทเครื่องสําอางใช้เทคโนโลยี AR เพื่อสะท้อนและจําลองการทดสอบแต่งหน้าว่า
เหมาะกับผู้ซื้อหรือไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น