เทคโนโลยี AI
เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งในสาขาวิชาวิทยาศาตร์คอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Coding) ที่อยู่ในรูปแบบกระบวนการแก้ไขปัญหาที่อธิบายเป็นขั้นตอนที่ชุดเจน ที่เราเรียกเป็นภาษาทางเทคนิค
ว่า Algorithm
โดยรูปแบบที่ปรากฏอาจจะเป็นได้ใน 3 ลักษณะคือลักษณะที่เราใช้สื่อสารกันทั่วไป (Natural Language)
, ลักษณะที่อธิบายด้วยรหัสจําลองหรือรหัสเทียมที่เป็นรหัสที่ได้ตกลงความหมายไว้แล้วตั้งแต่ต้น (Pseudocode) และลักษณะที่อธิบายด้วยแผนผัง
(Flowchart)
หากจะยกตัวอย่างการทํางานของ AI อย่างง่ายก็สามารถยกตัวอย่างที่ AI
สามารถเอาชนะแชมป์หมากรุกโลก
ด้วยการที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์นําเอาหลักการทํางานของAI ไปใช้ในการเดินหมากรุกในรูปแบบอัลกอริทึมจนทําให้คอมพิวเตอร์เข้าใจกฎเกณฑ์การเดินหมากรุกทั้งหมดแต่แน่นอนในการรู้กฎเกณฑ์การเดินหมากรุกก็ไม่ได้หมายความว่าคอมพิวเตอร์จะสามารถเอาชนะการแข่งขันหมากรุกกับมนุษย์ในครั้งแรกๆได้เพราะคอมพิวเตอร์ไม่มีประสบการณ์ที่เคยแพ้หรือชนะมาก่อนเมื่อได้แข่งในครั้งแรกก็ต้องrandom การเดินด้วยการเดาแบบสะเปะสะปะจนเกิดประสบการณ์แพ้และชนะและในการแพ้หรือชนะทุกครั้งคอมพิวเตอร์จะบันทึกไว้ว่าเดินในรูปแบบใดจึงแพ้เดินในรูปแบบใดจึงชนะเอาไว้ทุกครั้งในหน่วยความจํา
เนื่องจากการพัฒนาของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่ก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดควบคู่ไปกับการพัฒนาขีดความสามารถของsmartphone ในการเชื่อมโยงกับมนุษย์และนํามนุษย์เข้ามาร่วมแข่งขันหมากรุกกับคอมพิวเตอร์นี้ได้จากทั่วทุกมุมโลกจนทําให้คอมพิวเตอร์ได้เรียนรู้และเก็บประสบการณ์ไว้ในหน่วยความจําอันมหาศาลอีกทั้งยังมีการพัฒนาปรับปรุงอัลกอริทึมให้สามารถคิดต่อยอดด้วยการนําเอาเกมทุกเกมที่คอมพิวเตอร์พบว่าเป็นเกมที่ทําให้เกิดการเรียนรู้ใหม่โดยนําเอามาเชื่อมโยงกันจนทําให้เกิดกลยุทธ์ใหม่ๆในการเอาชนะมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกทั้งยังได้เปรียบที่คอมพิวเตอร์และ AI ไม่เคยเหนื่อย ,ไม่หิว ,ไม่โมโห ,ไม่มีอารมณ์ใดๆจึงทําให้มันไม่มีสิ่งรบกวนในการตัดสินใจที่อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลอันมหาศาล
(Big
Data) อย่างแท้จริงโดยไม่มีการลําเอียงใดๆดังนั้นเมื่อมันมีฐานข้อมูลการแข่งขันนับล้านๆครั้งจึงทําให้มันเริ่มเก่งเท่ามนุษย์ที่เก่งที่สุดในเกมหมากรุกนั่นเอง
อย่างไรก็ตามAI ไม่ได้มีขีดความสามารถหยุดอยู่เพียงแค่นั้นแต่นักวิจัยด้าน AI ยังพยายามก้าวไกลออกไปด้วยการพยายามคิดค้นหาวิธีการที่จะออกแบบอัลกอริทึมที่ทําให้คอมพิวเตอร์เชื่อมโยงความรู้ใหม่ๆเช่นด้วยการจับคู่ชุดความรู้ต่างๆ
(ในทุกcombination) แล้วทําการเชื่อมโยงเปรียบเทียบและเรียนรู้ pattern ที่เกิดขึ้นได้ใกล้ความสมบูรณ์แบบที่เข้าใกล้ 100% (Machine Learning) จน AI สามารถที่จะวิเคราะห์เรียนรู้เชิงลึกและปรับอัลกอริทึมได้ด้วยตัวมันเอง
(Deep Learning) โดยให้มันทําการทํางานประมวลผลตลอดเวลาบนโครงข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีข้อมูลมหาศาลที่เราเรียกว่า Big Data จนทําให้คอมพิวเตอร์ที่บรรจุอัลกอริทึม AI สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆจากข้อมูลจากทั่วทุกมุมโลกในทุกวินาทีเมื่อมันได้เรียนรู้ปีแล้วปีเล่าจึงทําให้มันมีขีดความสามารถในการพยากรณ์อนาคตได้แม่นยํามากขึ้นเป็นลําดับจนมีการคาดการณ์ว่า AI จะถูกนํามาใช้ในภาคธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมรวมทั้งจะเป็นเครื่องมืออันทรงพลังในการพัฒนาประเทศอีกด้วย
หากจะอธิบายเชิงเปรียบเทียบว่าขีดความสามารถของAI ที่ทรงประสิทธิภาพและชาญฉลาดอย่างยิ่งนั้นอยู่ที่จุดใดแล้วในชีวิตจริงก็สามารถเปรียบได้ว่าAI กําลังวิ่งtake off อยู่บนลานบินและใกล้ถึงจุดที่มันกําลังจะพ้นจากพื้นดินและกําลังเริ่มทะยานในอีกไม่นานนั้นเอง
แต่หากจะประมาณการณ์ในขีดความสามารถของมันในอนาคตซึ่งสามารถตรวจสอบได้ในห้องLAB ของบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกเช่น Google, Facebook, Apple,
IBM และ Microsoft
เป็นต้นเราจะพบว่าเทคโนโลยีต่างๆที่บริษัทเหล่านี้กําลังคิดค้นและผลิตให้ผู้คนนับหลายพันล้านคนใช้ในอนาคตอันใกล้นั้นล้วนแล้วแต่บรรจุ AI เข้าไปในสมองของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นทั้งสิ้นซึ่งมีการวิเคราะห์จาก World Economic Forum ว่า AI กําลังจะถึงจุดทะยาน (Tipping point) ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องบินกําลังไต่ระดับความสูงขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยอัตราเร่งตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นไป
AI จะเริ่มส่งผลกระทบนับจากนี้ไปในธุรกิจต่างๆในหลายอุตสาหกรรมเช่น สื่อ, โทรคมนาคม, การบริการทางการเงิน, โลจิสติกส์, ค้าปลีก, การแพทย์และสุขภาพ ไปจนถึงการศึกษาตามลําดับโดยทั้งนี้ก่อนถึงจุดTipping point ของAI ในปี 2025 นั้นAI จะส่งผลอย่างมากและชัดเจนในช่วงปี
2023 เนื่องจาก World Economic Forum ได้วิเคราะห์ว่าเป็นช่วงเวลาที่ Big Data จะถึงจุดทะยาน (Tipping point) ในปีดังกล่าวและจะส่งผลกระทบในการพลิกผันรูปแบบอุตสาหกรรมต่างๆในปีที่ AI และ Big Data ทะยานขึ้นพร้อมกันจนเกิดโมเมนตัมที่สุดในช่วงปี
2025 นั่นเอง
หากจะวิเคราะห์ตามนักอนาคตศาสตร์หลายท่านเราจะพบว่า AI เมื่อประกอบร่างเข้ากับ Big Data ได้ในระดับหนึ่งเท่านั้นก็จะทําให้ขีดความสามารถของมันไปกระทบกับการแพร่ภาพและเสียง
(Broadcasting)
ในรูปแบบที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนจนอาจทําให้เราได้เห็นเหตุการณ์พลิกผันในอุตสาหกรรม media ครั้งใหญ่คล้ายๆกับอุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์(กระดาษ)
ในสหรัฐอเมริกาที่ต้องยุติการทําธุรกิจในระดับ mass market ในปี 2014 รวมไปถึงกรณีล้มละลายของ KODAK ในปี 2013 ซึ่งเป็นผลมาจากการปรากฏตัวของ Google และ Facebook ภายในเวลาไม่กี่ปีเท่านั้นเพราะผู้บริโภคได้เปลี่ยนพฤติกรรมจากการอ่านหนังสือพิมพ์และการบันทึกภาพเพื่อความทรงจําด้วยฟิล์มไปเป็นการแชร์ประสบการณ์ด้วยการใช้ smartphone ถ่ายรูปอัพขึ้นบน social media แทน
จากการวิเคราะห์และการคาดการณ์จากสํานักวิจัยหลายสํานักก็สามารถสรุปได้ว่าอุตสาหกรรมสื่อและโทรคมนาคมจะถูกพลิกโฉมอย่างที่ไม่เหลือรูปแบบเดิมประมาณช่วงปี 2023 - 2025 (หลังจากการประกอบร่างของAI และBig Data สําเร็จ)
ตามมาด้วยอุตสาหกรรมการเงินการธนาคารและค้าปลีกในช่วงปี 2025 (หลังจากการประกอบร่างระหว่าง AI, Big Data และ Block-chain สําเร็จ)
ไปจนถึงอุตสาหกรรมพลังงานในปี 2030 (หลังจากการประกอบร่างระหว่าง AI, Big Data, Block-chain และ Smart material สําเร็จ) ซึ่งหลังจากปี 2030 นั้นคือภาพจริงของการอพยพจากอุตสาหกรรมเก่าเข้าสู่ยุคIndustry 4.0 อย่างสมบูรณ์แบบนั่นเอง
ปัญญาประดิษฐ์จะฉลาดเหนือมนุษย์
เมื่อพิจารณาถึงความรวดเร็วในการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)
ก็มีคําถามเกิดขึ้นมาว่าเมื่อใดที่ AI จะฉลาดเกินกว่ามนุษย์ผู้ที่สร้างมันขึ้นมาซึ่งทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยYale
และสถาบันอนาคตกาลของมนุษยชาติแห่งมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด (Oxford
Future of Humanity Institute) ได้เริ่มต้นจากการสํารวจนักธุรกิจและนักวิชาการหลายร้อยคนในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน
2016 เพื่อคาดการณ์ว่าเมื่อใดที่ AI จะฉลาดเกินกว่ามนุษย์
ผลการวิจัยดังกล่าวที่ทีมงานได้ตีพิมพ์ขึ้นระบุว่า AI
จะสามารถปฏิบัติงานใดๆได้ดีหรือดีกว่ามนุษย์หรือที่รู้จักกันในชื่อเครื่องจักรอัจฉริยะระดับสูง
(high-level machine intelligence) ภายในปี 2060 และจะแย่งงานจากมนุษย์ไปได้ทั้งหมดภายในปี
2136 ซึ่งผลลัพธ์เหล่านี้มาจากผู้เชี่ยวชาญ 352
ราย
บริษัท Tesla ของ Musk เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนําที่กําลังจะสร้างรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตนเองทําให้พนักงานชาวอเมริกันประมาณ
2
ล้านคนในอุตสาหกรรมรถบรรทุกและรถแท็กซี่ต่างมีความเห็นพ้องตรงกันว่างานของพวกเขาจะถูกแทนที่ด้วยยานพาหนะที่ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง
ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่า AI อาจจะขับรถได้ดีกว่ามนุษย์ในปี 2027
แต่อย่างไรก็ตามการสํารวจนี้ได้เสร็จสิ้นก่อนที่หุ่นยนต์ Otto จะประสบความสําเร็จในการนํารถบรรทุกที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง
120 ไมล์ในเดือนตุลาคม 2016
ซึ่งนั้นหมายความว่าสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญได้คาดการณ์ไว้อาจเกิดขึ้นจริงในเวลาที่เร็วกว่าที่คาดไว้
AI เป็นเทคโนโลยีที่สร้างประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจอย่างมากซึ่งมีศักยภาพในการปฏิวัติการใช้ชีวิตประจําวันชีวิตการทํางานการเรียนรู้การค้นพบความรู้ใหม่และการสื่อสารดังนั้นการวิจัยเกี่ยวกับAI จึงเป็นความสําคัญระดับชาติรวมถึงเพิ่มความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเปิดโอกาสทางการศึกษาและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นรวมถึงสามารถสร้างความมั่นคงปลอดภัยระดับชาติให้สูงขึ้นได้จากประโยชน์และข้อดีเหล่านี้รัฐบาลสหรัฐฯจึงได้ลงทุนในการวิจัยเกี่ยวกับAI มาเป็นเวลาหลายปีอย่างไรก็ตามเช่นเดียวกับเทคโนโลยีสําคัญๆที่รัฐบาลให้ความสนใจซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่เท่านั้นแต่ก็ยังมีข้อควรพิจารณาอีกหลายอย่างที่ต้องคํานึงถึงในทิศทางการวิจัยและพัฒนาโดยรวมของรัฐ
เป็นที่ทราบกันดีในปัจจุบันว่า AI กําลังส่งผลกระทบทั้งในภาคธุรกิจภาครัฐและในด้านความมั่นคงของชาติดังปรากฎอยู่ในเอกสารวิชาการหลายฉบับเช่นเอกสารวิจัยเรื่อง Artificial Intelligence and National
Security ซึ่งตีพิมพ์โดยมหาวิทยาลัย Harvard ได้วิเคราะห์ถึงผลกระทบด้านความมั่นคงของชาติในหลายมิติอีกทั้งประเทศจีนได้ยกระดับการทําวิจัยและพัฒนาด้าน AI ให้เป็นยุทธศาสตร์ระดับประเทศแล้วโดยประเทศจีนได้ประกาศว่าจะเป็นผู้นําทางด้าน AI ชั้นนําที่สุดของโลกภายในปี
2030 ซึ่งสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการวิจัยและพัฒนาด้าน AI ของประเทศจีนได้แซงหน้าประเทศสหรัฐอเมริกาไปแล้วดังแสดงในกราฟด้านบน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น